กล่องข้อความ: 		7-50100-001-080  		  ชื่อพื้นเมือง	:  ชมพูพันธุ์ทิพย์  ชื่อวิทยาศาสตร์	:  Tabebuia rosea (Bertol.) DC.  ชื่อวงศ์	:  BIGNONIACEAE  ชื่อสามัญ	:  Pink Trumpet shrubi  ประโยชน์	:  ปลูกประดับสวนกลางแจ้งดอกสวยสีชมพู

บริเวณที่พบ : หอประชุม 1
ลักษณะพิเศษของพืช : ไม้ดอกประดับ
ลักษณะทั่วไป :  ไม้ต้น
ต้น : ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ เรือนยอดรูปไข่หรือทรงกลม แผ่กว้างเป็นชั้นๆ เปลือกต้นเรียบสีเทาหรือสีน้ำตาล
เมื่ออายุมากเปลือกแตกเป็นร่อง กิ่งเปราะหักง่าย
ใบ : 
ใบประกอบรูปนิ้วมือ ใบย่อย 5 ใบ ก้านใบรวมยาว 5-30 เซนติเมตร ก้านใบย่อยยาว 0.5-2.5 เซนติเมตรใบรูปขอบขนาน
หรือรูปไข่แกมรูปรีกว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 7.5-16 เซนติเมตร   ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบมนหรือสอบ
ขอบใบเรียบ แผ่นใบหนาสีเขียวเข้ม
ดอก :
สีชมพูอ่อน ชมพูสดและขาว กลางดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกที่ปลายกิ่ง   มีดอกย่อยจำนวนมาก
โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายแยกเป็น 5 แฉก คล้ายรูปแตร   ยาว 5-7 เซนติเมตร มักบาน พร้อมกัน ร่วงง่าย
ดอกบานเต็มที่กว้าง 5-8 เซนติเมตร
ผล :
ผลแห้งแตก เป็นฝักกลม ยาว 15-30 เซนติเมตร เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดแบน สีน้ำตาล  มีปีก
ต้น :
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านมากมาย สูง 8 – 18 เมตร ผิวลำต้นขรุขระมีสีน้ำตาล
การขยายพันธุ์ : การเพาะเมล็ด หรือการตอน
ประโยชน์ : สามารถปลูกเป็นไม้ประดับตกแต่งสนามในเนื้อที่ขนาดเล็กให้ความร่มเงา สดชื่นจิตใจเบิกบาน
ข้อมูลจากภูมิปัญญาไทย :
          ใบ ต้มแก้เจ็บท้องหรือท้องเสีย ตำให้ละเอียดใส่แผล
          ลำต้นใช้ทำฟืน
         เยื่อใช้ทำกระดาษได้

ลักษณะวิสัย
ลำต้น

กลับหน้าหลัก
ใบ
ช่อดอก
ดอก

 

สรุปลักษณะและข้อมูลพรรณไม้
ชื่อพรรณไม้   ชมพูพันธุ์ทิพย์     รหัสพรรณไม้   7-50100-001-080